เมนู

จักทำในอนาคตไซร้ ทุกข์ อันเป็นผลของกรรมนั้น ในอบาย 4 มีนรก
เป็นต้น และในมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่ติดตามพวกเราผู้หนีไปข้างโน้น
ข้างนี้ ด้วยความประสงค์ดังว่ามานี้ แม้พวกท่านจะเหาะหนี คือจงใจ
หลีกหนีไป ก็ไม่หลุด คือไม่พ้นจากทุกข์นั้นไปได้ ท่านแสดงไว้ว่าจะให้
ผล ในเมื่อความพรั่งพร้อมแห่งปัจจัยอื่นมีคติและกาลเป็นต้นนั่นแล.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปลายเน ดังนี้ก็มี ความว่า เมื่อการไป คือ
การหลีกไปในที่ใดที่หนึ่ง มีอยู่ โดยนัยดังกล่าวแล้ว. มีความนี้ พึงแสดง
ด้วยคาถานี้ว่า ผู้ทำกรรมชั่ว จะหนีไปในอากาศ หรือท่ามกลางสมุทร
ฯลฯ ย่อมไม่พ้นจากกรรมชั่วนั้นไปได้.
จบอรรถกถากุมารกสูตรที่ 4

5. อุโปสถสูตร



ว่าด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์ 8



[116] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปุพพาราม ปราสาทของ
นางวิสาขามิคารมารดา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ ประทันนั่งอยู่ในวันอุโบสถ ลำดับนั้นแล เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว
ปฐมยามสิ้นไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกขากอาสนะกระทำจีวรเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยาม
สิ้นไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ 2 เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว
มัชฌิมยามสิ้นไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ กระทำจีวรเฉวียง
บ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว
มัชฌิมยามสิ้นไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด แม้ครั้งที่ 2 พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ 3 เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามสิ้นไปแล้ว
อรุณขึ้นไปแล้ว จวนสว่างแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะกระทำ
จีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว
ปัจฉิมยามสิ้นไปแล้ว อรุณขึ้นไปแล้ว จวนสว่างแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่
นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ บริษัทยังไม่บริสุทธิ์ ลำดับนั้น
ท่านพระมหาโมคคัลลานะดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อน
อานนท์ บริษัทยังไม่บริสุทธิ์ ดังนี้ ทรงหมายถึงใครหนอแล ลำดับนั้น
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกำหนดใจของภิกษุสงฆ์ ทุกหมู่เหล่าด้วยใจของ
ตนแล้วได้พิจารณาเห็นบุคคลนั้นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก มีความประพฤติ
ไม่สะอาด น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่เป็นสมณะ ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ
ไม่เป็นพรหมจารี ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี ผู้เน่าใน ผู้อันราคะรั่วรด
แล้ว ผู้เป็นดุจหยากเยื่อ นั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้ว ท่านพระ-


มหาโมคคัลลานะลุกจากอาสนะเข้าไปหาบุคคลนั้น แล้วได้กล่าวกะบุคคล
นั้นว่า จงลุกขึ้นเถิดผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นท่านแล้ว ท่าน
ไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล บุคคลนั้นได้
นิ่งเสีย แม้ครั้งที่ 2... แม้ครั้งที่ 3 ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้แล้ว
ท่านไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ 3 บุคคลนั้น
ก็ได้นิ่งเสีย ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะจับบุคคลนั้นที่แขน
ฉุดให้ออกให้จากภายนอกซุ้มประตู ใส่กลอนแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ให้บุคคลนั้นออกไปแล้ว บริษัทบริสุทธิ์แล้ว
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ดูก่อนโมคคัลลนะ
ไม่เคยมีมาแล้ว โมฆบุรุษนี้อยู่จนกระทั่งต้องจับแขนฉุดออกไป ลำดับ
นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ ตั้งแต่นี้ไป เราจักไม่กระทำอุโบสถ แสดงปาติโมกข์ ตั้งแต่นี้ไป
เธอทั้งหลายนั่นแลพึงกระทำอุโบสถ แสดงปาติโมกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การที่ตถาคตจะพึงกระทำอุโบสถ แสดงปาติโมกข์ ในเมื่อบริษัทไม่บริสุทธิ์
นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส.
[117] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทร มีธรรมอันน่าอัศจรรย์
ไม่เคยมีมา 8 ประการนี้ ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ พากันยินดีอยู่ในมหา-
สมุทร 8 ประการเป็นไฉน ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลาดลุ่มลึกลงไปตามลำดับ ไม่โกรธ
ชันเหมือนเหว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรลาดลุ่มลึกลงไปตาม
ลำดับ ไม่โกรธชันเหมือนเหว นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา
ประการที่ 1 มีอยู่ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ พากันยินดีอยู่ใน
มหาสมุทร.
อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง นี้ก็เป็น
ธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ 2...
อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรย่อมไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพ เพราะ
คลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่
มหาสมุทรไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพ เพราะคลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหา
ฝั่งให้ขึ้นบก นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ 3...
อีกประการหนึ่ง แม่น้ำสายใหญ่ ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี
สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตร
เดิมหมด ถึงการนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่
แม่น้ำสายใหญ่ ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่า
นั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมหมด ถึงการนับว่า
มหาสมุทรนั่นเอง นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการ
ที่ 4. . .
อีกประการหนึ่ง แม่น้ำทุกสายในโลกย่อมไหลไปรวมลงในมหา-
สมุทร และสายฝนก็ตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่อง
หรือเต็มเพราะน้ำนั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่แม่น้ำทุกสายในโลก
ไหลไปรวมลงในมหาสมุทร และสายฝนก็ตกลงสู่มหาสมุทร แต่มหาสมุทร

ก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มเพราะน้ำนั้น ๆ นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศ-
จรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ 5. . .
อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้ข้อที่มหาสมุทรทั้งหลายมีรสเดียว คือ รสเค็ม นี้ก็เป็นธรรม
อันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ 6. . .
อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหา-
สมุทรนั้นมีรัตนะเหล่านั้น คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์
ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วมรกต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แม้ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด. . . นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศ-
จรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ 7. . .
อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ ๆ
สิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ ในมหาสมุทรนั้น คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิง-
คละ พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่ร่างกายใหญ่ประมาณร้อยโยชน์
สองร้อยโยชน์ สามร้อยโยชน์ สี่ร้อยโยชน์ ห้าร้อยโยชน์ ก็มีอยู่ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่พำนักของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่. . . นี้ก็
เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ 8 ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ
พากันยินดีอยู่ในมหาสมุทร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีธรรม
อันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา 8 ประการนี้แล ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ พา
กันยินดีในมหาสมุทร.
[118] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ก็มีธรรมอันน่า
อัศจรรย์ ไม่เคยมีมา 8 ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ พากันยินดี
อยู่ในธรรมวินัย ฉันนั้นเหมือนกัน 8 ประการเป็นไฉน ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ
มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุ
อรหัตผลโดยตรง เปรียบเหมือนมหาสมุทรลาดลุ่มลึกไปตามลำดับ ไม่
โกรธชันเหมือนเหวฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้
มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตาม
ลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์
ไม่เคยมีมา ประการที่ 1 ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ พา
กันยินดีอยู่ในธรรมวินัยนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา ไม่ล่วงสิกขาบทที่เรา
บัญญัติแล้วแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เปรียบเหมือนมหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่
เสมอ ไม่ล้นฝั่ง ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่สาวกทั้งหลายของเรา
ไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้ว นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา
ประการที่ 2. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติ
ไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว ไม่ใช่สมณะ ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ
ไม่ใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่ม
ด้วยราคะ เป็นดุจหยากเยื่อ สงฆ์ไม่ยอมอยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกัน
ยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แต่เขาก็ชื่อว่า
ห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา เปรียบเหมือนมหาสมุทร
ไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพ เพราะคลื่นย่อมซัดเอาซากศพในมหาสมุทร
เข้าฝั่งให้ขึ้นบกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาป

ธรรม. . .และสงฆ์ที่ห่างไกลจากเขา นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคย
มีมา ประการที่ 3. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วรรณะ 4 จำพวก คือ กษัตริย์ พราหมณ์
แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว
ย่อมละชื่อและโคตรเดิม ถึงการนับว่าพระสมณศากยบุตรทั้งนั้น เปรียบ
เหมือนแม่น้ำใหญ่ ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำ
เหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมหมด ถึงการ
นับว่ามหาสมุทรนั่นเองฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่วรรณะ 4
จำพวก คือ กษัตริย์ พราหมณ์. . . ถึงการนับว่าพระสมณศากยบุตรทั้งนั้น
นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ 4. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพาน ด้วยอนุ-
ปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุ
นั้น เปรียบเหมือนแม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมลงในมหาสมุทร
และสายฝนก็ตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็ไม่ปรากฏว่าพร่องหรือเต็ม
ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุทั้งหลายจะปรินิพพานด้วย
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มด้วย
ภิกษุนั้น นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ 5. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือวิมุตติรส เปรียบ
เหมือนมหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็มฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้
ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์
ไม่เคยมีมา ประการที่ 6. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด ใน

ธรรมวินัยนั้นรัตนะเหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 เปรียบเหมือน
มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหาสมุทรนั้นมีรัตนะเหล่านี้ คือ
แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง
ทับทิม แก้วมรกต ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่ธรรมวินัยนี้
มีรัตนะมากมายหลายชนิด. . . อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ก็เป็นธรรมอันน่า
อัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ 7. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยสิ่งมีชีวิตใหญ่-
ในธรรมวินัยนั้น มีสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ ๆ เหล่านี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้
ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ
ทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
อนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ เปรียบ
เหมือนมหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ ในมหาสมุทรนั้น
มีสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ ๆ เหล่านี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ
อสูร นาค คนธรรพ์ แม้มีร่างกายใหญ่ประมาณร้อยโยชน์ สองร้อยโยชน์
สามร้อยโยชน์ สี่ร้อยโยชน์ ห้าร้อยโยชน์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่
ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ ๆ . . .ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความ
เป็นพระอรหันต์ นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ 8
ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ พากันยินดีอยู่ในธรรมวินัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา
8. ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ พากันยินดีอยู่ในธรรม
วินัยนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง ทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ฝน คือ กิเลสย่อมรั่วรดสิ่งที่ปกปิด ย่อมไม่รั่วรด
สิ่งที่เปิด เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปกปิดไว้เสีย
ฝนคือกิเลส ย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิดนั้นอย่างนี้.

จบอุโปสถสูตรที่ 5

อรรถกถาอุโปสถสูตร



อุโปสถสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตทหุ ได้แก่ ในวันนั้น คือในกลางวันนั้น. ในคำว่า
อุโปสเถ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. วัน ชื่อว่าอุโบสถ เพราะเป็นที่เข้าจำของ
คนทั้งหลาย. บทว่า อุปวสนฺติ ความว่า เป็นผู้เข้าจำอยู่ด้วยศีล หรือ
ด้วยการอดอาหาร. จริงอยู่ ศัพท์ว่า อุโบสถ นี้ มาในศีล ในประโยค
มีอาทิว่า เราเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ 8. มาในวินัยกรรม
มีปาติโมกข์อุเทศเป็นต้น ในประโยคมีอาทิว่า อุโบสถหรือปวารณา.
มาในอุปวาส ในประโยคมีอาทิว่า อุโบสถของนายโคปาล อุโบสถของ
นิครนถ์. มาในบัญญัติ ในประโยคมีอาทิว่า พญานาค ชื่อว่าอุโบสถ.
มาในวัน ในประโยคมีอาทิว่า วันนี้ เป็นวันอุโบสถ 15 ค่ำ. แม้ใน
ที่นี้ พึงเห็นว่ามาในวันนั้นเอง. เพราะฉะนั้น บทว่า ตทหุโปสเถ
ความว่า ในวันอันเป็นวันอุโบสถนั้น. บทว่า นิสินฺโน โหติ ความว่า
พระองค์แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประทับนั่งเพื่อทรงแสดงโอวาท-